ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียดในชีวิตประจำวันพบได้บ่อยมาก วันนี้เราจะมาบอก 16 อาการสังเกตได้ของ โรคไบโพลาร์ Bipolar Disorder หรือโรคอารมณ์สองขั้ว

โรคไบโพลาร์ คืออะไร?

เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางอารมณ์เด่นชัด โดยจะมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ อ่อนเพลีย ร้องไห้ อยากตาย ผิดหวัง หรืออารมณ์ดีมากผิดปกติ พูดมาก ครึกครื้น ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงด้านเดียว หรือมีอาการสองด้านก็ได้

ไบโพลาร์เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ที่มีการขึ้น และลงของอารมณ์อย่างรุนแรง โดยสาเหตุสำคัญนั้น เกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดจากความเครียดสะสม หรือการอดนอนบ่อย ๆ การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการแมเนีย (Mania) อารมณ์ดี สนุกสนาน คึกคัก และ อาการซึมเศร้า (Depress) เราจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว 

ขั้วบวก = แมเนีย 

ขั้วลบ = ซึมเศร้า

โรคไบโพลาร์

โดยปกติคนเรานั้นจะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วกลับมาอารมณ์ปกติ รับผิดชอบต่อหน้าที่ได้ แต่คนที่มีอารมณ์ผิดปกติ คือเกิดอารมณ์ขั้วบวก ขั้วลบเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และความสัมพันธ์ของคนรอบข้างอีกด้วย การสังเกตอาการเริ่มต้นนั้นไม่ยาก ผู้ป่วยจะมีสัญญาณเริ่มต้น ได้แก่

  • ขั้วบวก คือ หงุดหงิดง่าย ไม่นอน 2-3 วัน พูดมากขึ้น ร่าเริงผิดปกติ หรือบางคนอาจจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • ขั้วลบ คือ เศร้าผิดปกติ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร คิดลบ ไม่อยากมีชีวิตต่อ

16 อาการของคนเป็นโรคไบโพลาร์

ขั้วบวก หรือช่วงเบิกบาน หากหงุดหงิดมากเป็นพิเศษ นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และมีอย่างน้อย 3 ข้อของ อารมณ์คลั่ง ต่อไปนี้

  1. รู้สึกลำพองในตัวเอง
  2. นอนน้อยลง
  3. พูดมากกว่าปกติ
  4. ความคิดแล่นเร็ว
  5. ขาดสมาธิ วิธีการคิดลดลง
  6. มีกิจกรรมทางสังคม หรือทางเพศมากขึ้น
  7. ขาดความรอบคอบ เช่น ซื้อของฟุ่มเฟือย ขับรถเร็ว เป็นต้น

ขั้วลบ หรือซึมเศร้า มีอาการพร้อมกันอย่างน้อย 5 ข้อ นาน 2 สัปดาห์

  1. ซึมเศร้า
  2. สนุกน้อยลง หมดแพชชั่น
  3. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลง
  4. นอนน้อย หรือมากเกินไป
  5. ความคิด การเคลื่อนไหวช้าลง
  6. อ่อนแรง 
  7. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
  8. สมาธิสั้น หรือการคิดลดลง
  9. อยากฆ่าตัวตาย

วิธีรักษาไบโพลาร์ 

การรักษานั้นหลายคนมักจะเข้าใจผิด คิดว่าโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้รักษาได้ โดยการใช้ยาเป็นวิธีรักษาหลัก แพทย์จะให้ยาทางจิตเวช เพื่อปรับสื่อประสาท และควบคุมอารมณ์พร้อมกับให้คำแนะนำเกี่ยวกับ โรค และยา รวมถึงดูแลตนเองในด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป สำหรับผู้ป่วยบางคน แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วย เพื่อให้สามารถจัดการกับความเครียดได้ดี และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด ข้อห้ามหลัก ๆ คือ ไม่ควรหยุดยาเอง ไม่อดนอน ไม่ใช้สารเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติเหล่านี้ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

หากลองสังเกตดี ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความเครียดพบได้บ่อยมาก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์อีกชนิดหนึ่ง

วิธีรับมือ โรคไบโพลาร์

สัญญาณเตือน! หากเข้าข่ายเสี่ยงเป็นไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์นี้ เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างแล้ว ว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษา และรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ได้ให้คำแนะนำถึงสัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นไบโพลาร์นั่นเอง

หากผู้ป่วยเองอาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วย หรือรู้สึกลำบากใจที่จะยอมรับ ไม่กล้าเข้าพบจิตแพทย์ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด และความทุกข์ใจข่อคนรอบข้างได้นั่นเอง โรคที่เรากล่าวถึงนี้คือ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว 

วิธีขจัดปัญหากับความเครียดนั้นมีอยู่หลายวิธี ทั้งการออกไปหาอะไรทำใหม่ ๆ ท่องเที่ยว พักผ่อนให้มาก ๆ หรือการ เล่นเกม หากิจกรรมทำ การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้เรามอบความรู้ และสาระไว้ให้ทุกคนได้ติดตามกัน

ขอบคุณรูปภาพจาก sanook 

โรคไบโพลาร์
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก